บริโภคผักตามฤดูกาลดีอย่างไร?

ฤดูกาลในประเทศไทยนั้น มีอยู่ 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งแต่ละฤดูก็จะมีพืชผักที่เติบโตตามหน้าของมัน
ผู้อ่านหลายๆ ท่าน อาจจะงงนิดหน่อยว่า เอ๊!? ก็เห็นผักทั่วๆไป มีวางขายแทบทั้งปีเลยนี่นา ต่อให้ไม่ตรงฤดู มันก็กินได้ใช่ไหม?
จริงอยู่ว่ามันก็มีผักที่ปลูกได้ตลอดปี แต่ผักบางชนิดที่เห็นเจริญเติบโตทุกฤดูกาลได้ เพราะอาจจะมีการใช้สารเคมีเร่งโตกับผัก ทำให้ผักงอกงามแม้ไม่ตรงฤดูกาลของมันนั่นเอง
เราจึงอยากจะมาชักชวนให้ผู้อ่านได้เล็งเห็นถึงข้อดีในการกินผักตามฤดูกาลค่ะ

1. ปลอดภัย ไร้สารเคมีเร่งโต
ข้อนี้ ยืนหนึ่งเลยค่ะ เพราะผักที่โตตามฤดูกาล เราไม่มีการใช้สารเคมีเร่งโตแน่นอน
2. ดีต่อร่างกาย
การได้ทานพืชผักที่ตรงฤดูกาลตามธรรมชาติ มันจะดีต่อสุขภาพเรา เพราะ นั่นธรรมชาติได้คัดสรรมาแล้วค่ะว่า ผักไหน เหมาะกับ การกินในฤดูอะไร ให้ร่างกายได้รับคุณค่าทางสารอาหารที่ถูกต้องในแต่ละหน้าฤดูค่ะ
3. ราคาถูก
เพราะพืชผักที่ออกตรงตามฤดูกาล ทำให้ผลผลิตมีมาก การได้ทานผักตรงฤดูกาลซึ่งผลผลิตมีราคาถูกทำให้เรา ประหยัดไปได้เยอะเลย

ขอแนะนำ ตัวอย่างผักตามฤดูกาล
ฤดูร้อน (มีนาคม - พฤษภาคม)
ผัก : ผักบุ้ง แตงกวา ฟักเขียว บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ดอกแค ดอกโสน
ผลไม้ : มะละกอ มะม่วง
ฤดูฝน (มิถุนายน - ตุลาคม)
ผัก : กวางกุ้ง คะน้า ผักบุ้ง ผักโขม ดอกแค ดอกขจร ผักปลัง
ผลไม้ : กล้วย
ฤดูหนาว (พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์)
ผัก : กะหล่ำปลี กรีนโบว์ กรีนโอ็ค ผักคอส หัวไชเท้า ขิง
ผลไม้ : องุ่น
